Site Stats

Ads 468x60px

Social Icons

Featured Posts

RSS

ระบบปฏิบัติการ windows 8


          Windows 8 เร็วสุด ๆ ด้วยระบบปฏิบัติการใหม่ Windows 8 ซึ่งทางMicrosoft ได้ปล่อยให้ดาวน์โหลดจากว็บแม่เมื่อเช้านี้เอง ต้องขอบอกก่อนเลยครับว่าระบบปฏิบัติการ Windows 8 นี้เร็วกว่า Windows 7 อย่างมาก และ หลาย ๆ อย่างได้ถูกพัฒนาไปอย่างก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการปฏิวัติวงการคอมพิวเตอร์ของโลกเลยก็ว่าได้ และแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้จะนำไปสู่โลกเทคโนโลยีในอนาคต อย่างแน่นอน แจก Windows 8 ไปใช้งานกันแบบฟรี ๆ อย่าลืมโหลด Windows 8 กันนร้าคร๊าป ของดีมีน้อย

ความสามารถของ Windows 8 ขุมพลังระบบปฏิบัติการ
  • Boot Windows 8 ได้เร็วดั่งใจ ซึ่งจะตัดการโหลด Driver และข้อมูลต่าง ๆ เปลี่ยนจาก Windows 7 แบบพลิกฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งข้อดีของมันก็คือ สามารถบูตระบบได้ภายใน 8 วินาที เท่านั้น
  • มี GUI ที่แสนเรียบง่าย ซึ่งมันทำให้ง่ายต่อการใช้งาน
  • เชื่อม ต่อเข้ากับระบบ Social Network หลาย ๆ ชนิด ทำให้การใช้งาน Application ต่าง ๆ ง่ายมากยิ่งขึ้น เช่นการส่งอีเมลล์หาเพื่อน คุณสามารถที่จะเลือกข้อมูลแนบไฟล์ใน Facebook หรือ Social Network อื่น ๆ ได้ด้วย
  • Windows 8 ถูกสร้างขึ้นจากรากฐานของระบบ Windows 7 เพราะฉะนั้นหากใครได้ลองใช้งาน Windows 7 มาก่อนแล้วจะพบว่ามันทำงานได้เร็วมาก ๆ และแน่นอนว่า Windows 8 จะต้องดีกว่า Windows 7 อย่างแน่นอน
  • รองรับทั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8 32 bit และ Windows 8 64 bit เลือกดาวน์โหลด Windows 8 ใช้งานได้ตามความเหมาะสม

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ระบบปฏิบัติการ windows 7


          Windows 7 (อังกฤษ: Windows 7 วินโดวส์เซเวน, วินโดวส์เจ็ด) เป็นซอฟต์แวร์รุ่นล่าสุดของระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ในสายวินโดวส์ สำหรับใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและมีเดียเซนเตอร์โดยวันออกจำหน่ายจริงยังไม่ได้ระบุไว้โดยจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของซอฟต์แวร์[2] ในปัจจุบันมีรุ่นทดสอบที่ยังไม่สมบูรณ์เปิดให้ผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลดฟรี ทดลองใช้ ไมโครซอฟท์ได้มีการประกาศเปิดตัววินโดวส์ 7 ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ว่าการพัฒนาวินโดวส์ตัวนี้จะใช้เวลาสามปีให้หลังจากการวางจำหน่ายวินโดวส์ วิสตา[2]

คุณสมบัติใหม่ของวินโดวส์ตัวนี้ จะมีจุดเด่นในส่วนของ รองรับระบบมัลติทัช มีการออกแบบวินโดวส์เชลล์ใหม่ และระบบเน็ตเวิร์กแบบใหม่ภายใต้ชื่อโฮมกรุ๊ป (HomeGroup) [3] ในขณะที่คุณสมบัติหลายส่วนในวินโดวส์รุ่นก่อนหน้าจะถูกนำออกไปได้แก่ วินโดวส์มูฟวีเมเกอร์ และ วินโดวส์โฟโตแกลเลอรี[4]

รุ่นทดสอบล่าสุด คือรุ่น 6.1.7100 (Windows 7 RC) ออกให้ทดสอบเมื่อ 30 เมษายน 2552 โดยในช่วงเวลาเดียวกันได้มีการแจ้งว่าผู้ที่ดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งอื่นนอก เหนือจากทางเว็บไมโครซอฟท์ มีโอกาสที่ผู้ให้บริการดาวน์โหลดสอดแทรกมัลแวร์หรือโทรจันมากับไฟล์ด้วย[5]

ในประเทศไทย ไมโครซอฟท์ได้จัดงานเปิดตัววินโดวส์ 7 ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ณ แฟชันฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน[6]

มีผู้ใช้ Windows 7 หลายคนให้การขนานนาม Windows 7 ว่า "Windows 7 คือ Windows Vista ที่ทำเสร็จ"

ชื่อของ Windows 7
วินโดวส์ 7 เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวที่ 7 ของสายตระกูลวินโดวส์ Windows 7 ในแรกเริ่มเดิมทีมีชื่อหรือรหัสในการพัฒนาว่า แบล็คโคมบ์ (Blackcomb) ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็น เวียนนา (Vienna) โดย Windows 7 จะถูกผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับ Vista ที่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งคำว่า 7 น่าจะมาจากการเป็นวินโดว์รุ่นที่ 7 โดยเริ่มจากการนับ Windows 1.0-3.0, Windows NT คือ 3.1, Windows 95 Windows NT4 คือ 4.0, Windows 98 คือ 4.0.1998, Windows 98 SE คือ 4.10.2222 Windows ME คือ 4.90.3000, Windows 2000 คือ 5.0, Windows XP คือ 5.1, Windows Vista คือ 6.0 และ Windows 7 คือ 6.1

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ระบบปฏิบัติการวินโดวส์วิสต้า


วินโดวส์วิสตา (Windows Vista) คือระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ที่พัฒนาต่อมาจากวินโดวส์เอกซ์พี และวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ปัจจุบันได้วางจำหน่ายให้กับองค์กรธุรกิจวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และวางจำหน่ายให้กับผู้ใช้ทั่วไปวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550

ไมโครซอฟท์ประกาศใช้ชื่อ วินโดวส์วิสตา อย่างเป็นทางการแก่สื่อมวลชนในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แทนที่ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) โดยคำว่า วิสตา ในภาษาอังกฤษ หมายถึงมุมมอง หรือทิวทัศน์

วินโดวส์วิสตา ได้มีความสามารถใหม่หลายร้อยประการ ไม่ว่าจะเป็นระบบแสดงผลกราฟิกใหม่ โปรแกรมใหม่ ความสามารถค้นหาที่ดีกว่าเดิม รวมถึงระบบองค์ประกอบภายในอย่างในส่วนเน็ตเวิร์ก ระบบเสียง การพิมพ์ และการแสดงผลที่ได้ถูกออกแบบและเขียนขึ้นมาใหม่ และยังได้รวมดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก 3.0 ซึ่งช่วยผู้พัฒนาระบบสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม

อย่างไรก็ดี วินโดวส์วิสตา ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับบรรดาผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่หลังจากออกเวอร์ชันทางการแล้ว ก็มีผู้ใช้ส่วนใหญ่แสดงความไม่พอใจและกลับไปใช้ วินโดวส์เอกซ์พี เนื่องจาก วินโดวส์วิสตา ยังไม่ค่อยตอบสนองต่อผู้ใช้ทางบ้านเท่าที่ควร กล่าวคือ วินโดวส์วิสตา ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ระบบปฏิบัติการ Mac


          เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ macintosh ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่าง ๆ
นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้าง ขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์


ระบบปฏิบัติการ UNIX มีต้นกำเนิดจากห้องปฏิบัติการวิจัย Bell ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Ken Thompson และ Dennis Ritchie ปี พ.ศ. 2512 โดยมีที่มาคร่าวๆ คือ

สถาบัน MIT (Massascusetts Institute of Technology), ห้องปฏิบัติการวิจัย AT&T Bell Labs และบริษัท GE (General Electric) ร่วมกันพัฒนาโครงการ Multics ในปี 1960 เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับ Mainframe Computer รุ่น GE 635 โดยให้ระบบปฏิบัติการนี้มีความสามารถทำงานแบบโต้ตอบ (Interactive) มีระบบอำนวยความสะดวกต่อการใช้แฟ้มและข้อมูลร่วมกันได้ แต่เกิดปัญหาหลายประการ จนกระทั่ง Bell Labs ได้ลาออกจากโครงการ แต่โครงการก็ยังดำเนินการต่อโดย Ken Thompson และ Dennis Ritchie ซึ่งทำงานกับ Bell Labs พร้อมๆ กันไปด้วย

ต่อมา Ken & Dennis ได้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการใหม่ เพื่อทำงานบนเครื่อง PDP-7 และใช้ชื่อว่าระบบปฏิบัติการ UNIX เพื่อให้ออกเสียงใกล้เคียงกับระบบ Multics ดังนั้นต้นกำหนดของ UNIX ก็คือ Multics นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ระบบแฟ้มข้อมูลที่ใช้ แนวคิดของตัวแปรคำสั่ง (Shell) หลังจากนั้นทั้งสองได้พัฒนามาเป็น Version 2 เพื่อทำงานบนเครื่องรุ่น PDP-11/20 โดยใช้ภาษา Assembly และได้พัฒนาปรับปรุงด้วยภาษา C (ภาษา C ก็พัฒนาที่ห้องวิจัย Bell Labs เช่นกัน เพื่อทำงานบนระบบ UNIX) และเผยแพร่ไปสู่มหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย Version 6 ในปี ค.ศ. 1976

ใน ปี ค.ศ. 1978 Version 7 ก็ถูกพัฒนาออกมา ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบ UNIX รุ่นใหม่ๆ หลังจากนั้น AT&T ซึ่งเป็นองค์กรแม่ของ Bell Labs ได้เป็นผู้รับผิดชอบ และควบคุมการออกตัวระบบปฏิบัติการ UNIX ดังนั้น UNIX จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ แทนที่จะเป็นเครื่องมือวิจัย AT&T ได้พัฒนา UNIX ออกมาใช้งานภายนอก ภายใต้ชื่อ System III ในปี 1982 และปี 1983 ก็ออก System V และพัฒนามาเรื่อยๆ จนได้รับความนิยมในปัจจุบัน

หลังจากนั้นก็มีผู้พัฒนา UNIX เพิ่มขึ้นมา เช่น University of California at Berkley ได้พัฒนา BSD UNIX (Berkley Software Distribution) ต่อมาหน่วยงานกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ (Defense Advanced Research Projects Agency - DARPA) ได้ให้ทุนกับ Berkley ในการพัฒนา UNIX และเกิด Version 4BSD เพื่อสนับสนุนเครือข่ายของ DARPA ที่ใช้โปรโตคอลในการสื่อสาร คือ TCP/IP Version ล่าสุดของ Berkley คือ 4.4BSD ที่ออกมาในปี ค.ศ. 1993 โดยมีความสามารถสนับสนุน Protocol X.25 หลังจากนั้น Berkley ก็หยุดการพัฒนา UNIX

นอกจาก Berkley ยังมีผู้พัฒนารายอื่น เช่น บริษัทซันไมโครซิสเต็ม ก็ได้พัฒนา SunOS และ Solaris บริษัท DEC ได้พัฒนา Ultrix และเปลี่ยนชื่อเป็น OSF/1 บริษัทไมโครซอฟต์พัฒนา XENIX บริษัทไอบีเอ็มพัฒนา AIX แต่ไม่ว่าจะเป็นค่ายใดก็ตาม ต่างก็ยึดแนวทางของ BSD หรือไม่ก็ Sytem V ทั้งนั้น

ปัจจุบัน UNIX เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน (Registered Trademark) ของหน่วยงานที่ชื่อ The Open Group ซึ่งจะทำการกำหนด และรับรองมาตรฐานของระบบปฏิบัติการ UNIX

ระบบปฏิบัติการ UNIX มี 2 ลักษณะ คือ

1.ระบบ ปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้มาตรฐานของ The Open Group ในการพัฒนาขึ้นมา เช่น Digital UNIX, SCO UNIX, IBM's OpenEdition MVS

2.ระบบ ปฏิบัติการคล้าย UNIX (UNIX Compatible) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายระบบ UNIX แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน รับรองเป็นทางการ เช่น Sun Solaris, IBM AIX, Linux

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์


           Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991
โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์
ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix
ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaum
เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์

           Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991
โดยมีเฉพาะ Harddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต
่ Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minix อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล
์ และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร
์ ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix

           Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02
ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่ง
ได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย
เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX ที่สมบูรณ์แบบ มีความสามารถสน
ันสนุนกราฟิก X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับส่งอีเมล์
ทำหน้าที่เป็น News, WWW, FTP Server ได้ และความสามารถอื่นๆ อีกมาก

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ระบบปฏิบัติการ Windows XP

 


           Windows XP เป็น เวอร์ชันของระบบปฏิบัติ Windows ระดับ desktop สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Microsoft มองว่า Windows XP เป็นเวอร์ชันสำคัญของ Windows
นับตั้งแต่ Windows 95 โดย Windows XP สร้างขึ้นบน kernel ของ Windows 2000 แต่นำมุมมองส่วนบุคคลใหม่ ให้กับหน้าจอที่จะทำให้ง่าย สำหรับผู้ใช้ในค้นหา

หรือนำเข้าภาพและเรียกไฟล์เพลงบนเว็บ และส่งผ่านมายัง เครื่องคอมพิวเตอร์ Windows ใหม่ยินยอมให้สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนสามารถใช้ หน้าจอ desktop ของตัวเอง และชุดของไฟล์ส่วนบุคคล นอกจาก "My Computer" และ "My Documents" ที่มีให้ใน Windows 2000 ผู้ใช้ใน Windows XP จะเห็น "My Music" และ "My Picture" ส่วน Start Menu ได้รับการออกแบบ ให้หาโปรแกรมที่ใช้บ่อยได้ง่ายขึ้น Windows XP มีเวอร์ชัน Professional และ Home Edition

>>> ระบบปฏิบัติการ Windows NT

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ระบบปฏิบัติการ Windows NT


Windows NT ย่อมาจาก Windows New Technology
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับ DOSและ Windows 95 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทไมโครซอฟท์ยักษ์ใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

WindowsNT มีคุณสมบัติที่ดีเหนือกว่า DOS,Windows 95 และ Windows 98 หลายประการWindows NT สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท

ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในตระกูล x86 เช่น Pentium ของบริษัท Intel
(มักเรียกว่าเครื่องพีซี) และเครื่อง Alpha เป็นต้นจะพบว่าControl Panel ใน Windows NTกับ Windows 98 มีรูปร่างหน้าตาไม่แตกต่างกันนักแต่เครื่องมือที่อยู่ภายในมีการใช้งานที่แตกต่างกันอยู่บ้างพอสมควร

>>> ระบบปฏิบัติการ Windows 2000

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ระบบปฏิบัติการ Windows 2000


Windows 2000 เป็นเวอร์ชันล่าสุด ของการปรับปรุงระบบปฏิบัติการ Windows ผู้ใช้ Windows98 และ Windows NT อยู่ในช่วงที่ต้องย้ายไปสู่ Windows 2000 ชื่อเดิมเรียกว่า Windows NT5.0 ซึ่ง Windows 2000 เป็นการใช้เทคโนโลยีของ NT ซึ่ง Windows 2000 ได้รับการออกแบบสำหรับงานด้านวิชาชีพและธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงตลาดธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการระดับเทคนิคที่สูงด้วยเทคโนโลยีของ NT การใช้ Windows 2000 จำเป็นต้องเลือกตามลักษณะการใช้งานสายผลิตภัณฑ์

Windows 2000 ประกอบด้วย - Windows 2000 Professional: จุดมุ่งหมายสำหรับงานส่วนบุคคลและธุรกิจทุกขนาด รวมถึงระบบความปลอดภัยและการใช้งานแบบเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ประหยัดมากที่สุด

- Windows2000 Server: จุดมุ่งหมายสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ซึ่งสามารถทำเป็น web server หรือ work group server และสนับสนุนการงานกับ SMP (two-way Symmetric Multiprocessing) Windows NT4.0 สามารถอัพเกรดเป็น Windows 2000 Server

- Windows 2000 Advance Server: จุดมุ่งหมายสำหรับระบบปฏิบัติการของ Server แบบเครือข่ายและ/หรือเป็น server ของโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งรวมถึงระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ในระบบนี้มีการอำนวยความสะดวกด้วยระบบ clustering and load balancing ซึ่ง Windows NT 4.0 ที่มีระบบ 8-way SMP สามารถอัพเกรดเป็นผลิตภัณฑ์ตัวนี้ได้

- Windows 2000 Data center Server: ได้รับการออกแบบสำหรับระบบ data ware house ขนาดใหญ่ การประมวลผลแบบ On-line Transaction (OLTP) การวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติและโปรแกรมประยุกต์อื่น ที่ต้องใช้การประมวลผลด้วยความเร็วสูง และฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น Data Center Server สนับสนุน 16-way SMP และใช้หน่วยความจำได้กับ 64 GB

รายงานเบื้องต้นระบุว่า Windows 2000 มีเสถียรภาพสูงกว่า Windows 98 และ NT ส่วนประกอบใหม่ที่สำคัญคือ Microsoft Active Directory เมื่อรวมกับส่วนประกอบอื่นแล้ว ทำให้หน่วยธุรกิจสามารถจัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ Virtual Private Network เพื่อ encrypt ข้อมูลสำหรับ NT หรือบนเครือข่าย และเพื่อให้การใช้ไฟล์ร่วมกันจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่าย

การอัพเกรดจาก Windows98 หรือ NT มีความลำบากแต่เหมาะสำหรับการใช้ที่ต้องการความสามารถใหม่ที่เพิ่มขึ้น

>>> ระบบปฏิบัติการ Windows ME

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ระบบปฏิบัติการ Windows ME



ระบบปฏิบัติการ Windows ถือกำเนิดมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายปีแล้ว ตั้งแต่ที่เรายังใช้ Windows 3.11 หรือ Windows 95 ก็ตาม สำหรับผู้ที่ใช้ Windows NT นั้นเหมาะกับการใช้งานประเภท Network และล่าสุดสำหรับผู้ที่รอคอย Windows 2000 แล้วก็ต้องผิดหวังตามๆ กันเมื่อคิดว่า Windows 2000 นั้นจะเข้ามาแทนที่ Win 98 เดิมสำหรับการใช้งาน User ทั่วไปที่ต้องการใช้งานทางด้าน Multimedia ที่ดีขึ้น เป็นต้น เพราะ Windows 2000 สำหรับสนุนการทำงานแบบระบบ Network เสียส่วนใหญ่ครับ Microsoft ได้เล็งเห็นตลาดของ Windows 98 หลังจากนั้น Microsoft ก็ได้ประกาศข่าวให้ทราบกันทั่วไปว่า Windows ME (Windows Millennium Edition) จะเป็น Generation ต่อไปของตระกูล Windows 98 ครับ สำหรับ Feature อะไรที่น่าสนใจบ้างนั้นเราไปดูกันครับ

Windows ME มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
คุณสมบัติ เด่นของ Windows 98 ที่แตกต่างจาก Windows 95 แต่ก่อนนั้นนั่นคือ ความเร็วที่เพิ่มสูงขึ้นในการเรียกใช้ Application ต่างๆ การทำงานกับระบบ Plug&Play และ USB สนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้นครับ เช่นเดียวกันกับ Windows ME ที่ทุกคนต่างหวังว่ามันจะทำงานเร็วขึ้นแต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อมันไม่ได้ทำงาน เร็วขึ้นกว่า Windows 98 เลย แต่คุณสมบัติเด่นๆ นั้น มีดังนี้

การตรวจเช็คและอัพเดทโปรแกรมอัตโนมัติ
Windows ME ระบบการอัพเดทโปรแกรมอัตโนมัติ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ท Windows ME จะทำการอัพเดทตัว Windows ให้เองในกรณีที่มีตัวอัพเดทตัวใหม่ที่แก้ไข Bug ต่างๆ ของ Windows แต่อย่างไรก็ตามคุณสามารถปิดคุณสมบัตินี้ได้ในกรณีที่คุณต้องการจะอัพเดทเองครับ

การทำงานที่เร็วขึ้น
คุณสมบัตินี้ไม่สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้อยู่ปัจจุบันนี้ เพราะเป็นคุณสมบัติใหม่ของ Windows ME ที่สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ๆ ที่กำลังจะออกมานี้ เรียกว่า Fast Boot โดยบริษัทคอมพิวเตอร์รายแรกที่สนับสนุนคุณสมบัตินี้คือ Dell Computer โดย Bios นั้นสามารถปรับเปลี่ยน Config ให้ Support กับ Windows ME ครับ ผลที่ได้ก็คือการ Boot ระบบนั้นใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาทีเท่านั้น เร็วกว่า Windows 98 จริงแต่ก็ไม่ได้มากจนน่าตกใจครับ

>>> ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98


วินโดวส์ 98 (อังกฤษ: Windows 98, ชื่อรหัส: Memphis) เป็นระบบปฏิบัติการ GUI ออกแบบสำหรับผู้ใช้ทั่วไปซึ่งเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ 95 พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และวางจำหน่ายวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) และรุ่นอัปเดตวินโดวส์ 98 Second Edition ได้ออกวางจำหน่ายวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) รุ่นต่อจากวินโดวส์ 98 คือวินโดวส์ Me

ความสามารถใหม่
วินโดวส์ 98 รองรับ AGP และ USB ยูเอสบีดีขึ้นกว่าเดิม และได้เพิ่มการรองรับการใช้งานหลายหน้าจอ รองรับดีวีดีไดร์ฟในตัว สนับสนุนระบบไฟล์ FAT32 ซึ่งทำให้สามารถรองรับฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่กว่า 2 จิกะไบต์ได้ นอกจากนั้นยังเป็นรุ่นแรกที่รองรับ ACPI ในส่วนอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นมานั้น ได้แก่ Internet Connection Sharing (ICS) ซึ่งทำให้หลายเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นสามารถแชร์อินเทอร์เน็ตผ่านแลนได้ด้วย Network address translation (NAT) และยังมาพร้อมกับ NetMeeting 3.0 และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 5.0

มาตรฐานไดรเวอร์ใหม่
วินโดวส์ 98 เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่รองรับ Windows Driver Model (WDM) ซึ่งในช่วงแรกนั้นไม่รู้จัก เพราะไดรเวอร์เก่ายังพัฒนาโดยใช้มาตรฐาน VXD เดิม จนเริ่มแพร่หลายในช่วงหลังเนื่องจากว่าวินโดวส์ 2000 วินโดวส์เอกซ์พีและ หลังจากนั้น ไม่รองรับมาตรฐาน VXD อีกต่อไป ซึ่งทำให้ในปัจจุบัน WDM ไดรเวอร์นั้นยังสามารถรองรับวินโดวส์ 98 ได้แม้ว่าอาจจะไม่ได้พัฒนาสำหรับวินโดวส์ 98 โดยเฉพาะ

>>> ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95


วินโดวส์ 95 (อังกฤษ: Windows 95, ชื่อรหัส: Chicago) เป็นระบบปฏิบัติการกูอี้ ออกแบบสำหรับผู้ใช้ทั่วไป พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และวางจำหน่ายวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) วินโดวส์ 95 ประสบความสำเร็จอย่างเปรียบเทียบไม่ได้ โดยภายใน 1-2 ปี วินโดวส์ 95 ได้ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตั้งแต่มีมา

วินโดวส์ 95 ได้พัฒนาขึ้นอย่างมากจากวินโดวส์ 3.1 รุ่นก่อน โดยเฉพาะส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ จากเดิมที่วินโดวส์นั้นต้องการระบบปฏิบัติการดอสในการทำงาน วินโดวส์ 95 นั้นได้รวมทั้งระบบปฏิบัติการดอส และส่วนวินโดวส์รุ่น เดิมเข้าด้วยกัน ทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องมีดอสสำหรับการติดตั้งวินโดวส์อีกต่อไป หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคที่สำคัญคือสามารถรองรับชื่อไฟล์ได้ถึง 255 ตัวอักขระ โดยเป็นไปได้เนื่องจากเปลี่ยนมาใช้การเข้าถึงไฟล์แบบ 32-บิตแทน

วินโดวส์ 95 มีความต้องการขั้นต่ำอย่างเป็นทางการคือ Intel 80386 (หรือเทียบเท่า) แรม 4MB และเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์ 50MB หรือมากกว่า

>>> ข้อเสียของระบบปฏิบัติการดอส

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ข้อเสียของระบบปฏิบัติการดอส


ข้อเสีย คือ ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก เพราะผู้ใช้ต้องจำ และพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้องโปรแกรมจึงจะทำงาน ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985 บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนา Microsoft 

Windows Version 1.0 และเรื่อยมาจนถึง Version 3.11 ในปีค.ศ. 1990 ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทำงานแบบกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface (GUI) ทำหน้าที่แทนดอส ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก คุณสมบัติเด่นของ Microsoft Windows 3.11 คือทำงานในกราฟิกโหมด เป็น Multi-Tasking และ Generic แต่ยังคงทำงานในลักษณะ Single-User ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอส ทำการบูทเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน

>>> ระบบปฏิบัติการดอส

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ระบบปฏิบัติการดอส


ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นอย่างไร?
โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการประกอบขึ้นจากชุด ทั้งส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้เป็นไปย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชัน ระบบปฏิบัติการนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาการทางด้านซอฟต์แวร์และฮารด์แวร์

การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์

การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือ การเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงาน

คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ  
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น

2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น

>>> คุณลักษณะของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คุณลักษณะของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ


คุณลักษณะของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ พิจารณาคุณลักษณะของโปรแกรมระบบปฏิบัติการตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

จำนวนงานที่ทำได้ ถ้ามีหลายโปรแกรมทำงานพร้อมกันได้ เรียกว่า Multi - Tasking OS แต่ถ้า OS ควบคุมให้โปรแกรมทำงานได้ครั้งละ 1 โปรแกรมเท่านั้น เราเรียกว่า Single - Tasking OS

จำนวนผู้ใช้ จำนวนผู้ใช้ OS สามารถควบคุมการทำงาน ให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานพร้อม ๆ กันได้ หลายเครื่องในระบบเครือข่าย ที่มีผู้ใช้หลายคน ถ้า OS สามารถจัดการระบบ ที่มีผู้ใช้หลาย ๆ คน พร้อมกันได้ในระบบเรียกว่า Multi-User OS แต่ถ้า OS สามารถจัดการระบบ ได้เพียงเครื่องเดียว หรือมีผู้ใช้ระบบ ได้เพียงครั้งละ 1 คน เรียกว่า Single - User OS

ประเภทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้ ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ Generic Operation System ( ระบบปฏิบัติการ ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้หลายประเภท ไม่ยึดติด กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ประเภทใด ) กับอีกประเภทหนึ่งคือ Proprietary Operating System ( ระบบปฏิบัติการ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ ระบบหนึ่งระบบใด หรือยี่ห้อหนึ่ง ยี่ห้อใดเท่านั้น) ตัวอย่างสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมา เพื่อใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ประเภทเดียว ไม่สามารถนำไปใช้ กับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ ได้ เช่น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Macintosh และเครื่องในตระกูล Apple II ซึ่งใช้ซีพียู ยี่ห้อ Motorola ไม่สามารถนำระบบปฏิบัติการนี้ มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร ์ทั่ว ๆ ไป

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ


1. เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดความสะดวกในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ โดยการจัดเตรียมโปรแกรมระบบปฏิบัติการใส่ไว้ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อกับผู้ใช้ ควบคุมการทำงานฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมการใช้ดิสก์ไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ คีย์บอร์ด และจอภาพ เป็นต้น

2. ทำงานร่วมกับโปรแกรมที่อยู่ในรอม เมื่อเริ่มบูทเครื่อง OS จะทำงานต่อจากโปรแกรมประเภท Firmware ที่จัดเก็บไว้ในรอม จะทำงานเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เรามักเรียกFirmware นี้ว่า BIOS (Basic Input Output System) โดย BIOS จะทำการตรวจสอบความพร้อม ระบบฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงส่งหน้าที่ให้แก่ OS เพื่อให้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์

3. จัดตารางการใช้ทรัพยากร การเข้าใช้หน่วยประมวลผลกลาง ของคำสั่งที่ผู้ใช้สั่งงาน เช่นกำหนดวิธีการจัดคิว (Queue) ของคำสั่ง เวลาที่ OS อนุญาตให้ใช้ซีพียู ของแต่ละคำสั่ง ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยประมวลผลกลาง ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

4. จัดการข้อมูลและสารสนเทศในหน่วยความจำ ได้แก่การนำข้อมูลไปวาง (Placement)ในหน่วยความจำ การแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำ (Replacement) การย้ายข้อมูลในหน่วยความจำ

5. จัดการระบบการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลลงบนสื่อสำรอง (Secondary Storage Unit)

6. นำโปรแกรมประเภทอื่น เข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ นอกจากประมวลผลแล้วยังคอยให้บริการ เมื่อโปรแกรมต่างๆ ต้องการใช้ทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

7. จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย

8. จัดการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์รอบข้างของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์ การ์ดเสียง และ โมเด็ม เป็นต้น

>>> Firmware คือ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Firmware คือ


          หากเปรียบเทียบแล้วเฟิร์มแวร์เหมือนกับโปรแกรมเล็กๆที่เขียนขึ้นมาเพื่อควบ คุมการทำงานของอุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์ต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ ตอนเปิดเครื่องจะมีการอ่านค่าของเฟิร์มแวร์ การตั้งค่าต่างๆ เมนู ภาษา การควบคุมการทำงานคำสั่งต่างๆ ดังนั้นหากเปรียบเฟิร์มแวร์ก็เหมือนกับไดร์เวอร์ที่ติดตั้งในวินโดส์ว เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ หรือเหมือนกับระบบปฏิบัติการ ( OS) ที่ควมคุมการทำงานตั้งแต่เริ่มทำงาน ควบคุมการสั่งงานของปุ่มต่างๆ อุปกรณ์ที่ได้รับการควบคุมโดยใช้เฟิร์มแวร์ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องเล่นเกมส์ เครื่องเล่นเอ็มพีสาม กล้องดิจิตอล พีดีเอ เครื่องปาล์ฒ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ r พรินต์เตอร์ โมเด็ม อุปกรณ์ควบคุมการทำงานเครือข่าย เร้าเตอร์ ซึ่งจะควบคุมการทำงานโดยชิป และในชิปจะมีซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงาน เก็บค่าคำสั่งต่างๆ เมนู ภาษา การเลือกค่าต่างๆ เรียกว่า เฟิร์มแวร์

อัพเกรดแล้วได้อะไร เราได้อะไรจากการอัพเกรดเฟิร์แวร์ การที่ผู้ผลิตคลอดเฟิร์มแวร์ใหม่ๆก็เพื่อที่จะเพิ่มคำสั่งการใช้งานต่างๆ ตลอดจนแก้ไขปัญา ข้อบกพร่องที่ได้รับการรายงานแจ้งให้ทราบ โดยการอัพเกรดเฟิร์มแวร์นอกจากจะทำให้เครื่องทำงานได้ดีขึ้นแล้ว ยังมีการเพิ่มเมนู เพิ่มคำสั่ง ลูกเล่นอื่นๆ ตลอดจนเพิ่มความเร็วในการทำงานได้อีกด้วย ตัวอย่างของเฟิรมแวร์ เช่น จำหน่ายอุปกรณ์ที่เก็บเครื่องเล่น การใช้งานมีเมนูภาษาอังกฤษ แต่เมื่อได้รับการพัฒนาให้มีเมนูภาษาไทย ก็สามารถที่จะอัพเกรดให้มีเมนูภาษาไทย เป็นต้น

อัพเกรดอย่างไร
โดยปกติแล้วการอัพเกรดเฟิร์มแวร์จะกระทำเพื่อแก้ ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือเพิ่มลูกเล่น คำสั่งต่างๆ โดยให้ทางศูนย์บริการจัดการ Upgrade Firmware ให้ แต่สำหรับเครื่องเล่นเอ็มพีสามบางรุ่นมีบริการให้ดาว์นโหลด Firmware ล่าสุด โดยท่านสามารถดาว์นโหลดเฟิร์มแวร์ล่าสุดได้จากเวปไซต์ จากผู้ผลิต และทำตามขั้นตอนแนะนำในเวปไซต์

ข้อควรรรวังในการอัพเกรดเฟิร์มแวร์

     ตรวจสอบรุ่นของเฟิร์มแวร์ให้แน่ใจก่อนอัพเกรด
     อ่านรายละเอียดในการแก้ปัญหาต่างๆและลูกเล่นที่เพิ่มขึ้นมาในเฟิร์มแวร์ล่าสุด
     ควรตรวจสอบรุ่นของเครื่องเล่น ก่อนที่จะดาว์นโหลดเฟิร์มแวร์
     ดาว์นโหลดเฟิร์มแวร์ให้ตรงกับรุ่นของเครื่องเล่น
     การดาว์นโหลดเฟิร์มแวร์ต้องทำตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

>>> ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)



หมายถึง
ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) ที่ สามารถสัมผัสได้ โดยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมการประมวลผลข้อมูล การรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์


เป็นอุปกรณ์ที่จับต้อง สัมผัส และสามารถมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม มีทั้งที่ติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) และ เชื่อมต่อภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์

เราสามารถแบ่งส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ออกได้เป็น 5 หน่วยที่สำคัญ ดังนี้


1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการรับโปรแกรม และข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูลเข้า ได้แก่ แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด (Keyboard) เครื่องสแกนต่างๆ เช่น เครื่องรูดบัตร สแกนเนอร์ ฯลฯ
 

2. หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไป
 

3. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU หรือ Central Processing Unit) ทำ หน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม หน่วยนี้จะประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ อีก 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยคำนวณเลขคณิตและตรรกวิทยา (ALU หรือArithmetic and Logical Unit) และ หน่วยควบคุม (CU หรือ Control Unit)
 

4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storge) ทำ หน้าที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่อง ก่อนทำการประมวลผลโดย ซีพียู รวมทั้งเป็นแหล่งเก็บผลลัพท์จากการประมวลผลด้วย เพื่อการใช้งานในภายหลัง

5. หน่วยแสดงข้อมูล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพท์จากการประมวลผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น 


>>> ซอฟต์แวร์ (software) 

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ซอฟต์แวร์ (software)


หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง ลำดับ ขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ ซอฟต์แวร์ นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ หุ่นยนต์ในโรงงาน หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ

คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏ ครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program) ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะ เป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่าง กัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำ งานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์  ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ

ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใน การทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และ ปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์

เนื่องจากคอมพิวเตอร์ ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัส แทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่า ภาษาเครื่อง


>>> ความหมายของระบบปฏิบัติการ 

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ความหมายของระบบปฏิบัติการ


คอมพิวเตอร์ เป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อนมาก เพราะมีขั้นตอนการรับส่งข้อมูลการประมวลผล การติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งการเก็บข้อมูลบนสื่อชนิดต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีโปรแกรมช่วยควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบเป็นระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมนี้เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ( Operating System : OS )

Operating System : OS หมายถึง System Program ที่มีการรวมโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล ( Processing Program ) และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ( Control Program ) เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องโดยระบบปฏิบัติการจะ ทำหน้าที่จัดระบบการทำงานให้เครื่องสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องรวดเร็ว ทำการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูง จัดแฟ้มข้อมูลและทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครื่องทั้งระบบ

ระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้มากมาย ทั้งระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และใช้ในระบบเครือข่ายซึ่งระบบปฏิบัติการของเครื่องแต่ละระดับมีชื่อเรียก ต่าง ๆกัน เช่น CP/M , DOS, UNIX, XENIX, WINDOWS 95 , WINDOWS 98 , WINDOWS 2000 , WINDOWS NT , MACINTOSH SYSTEM,OS/2 เป็นต้น

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS